http://image.ohozaa.com/i1/animegirlseyesspecialcontactlenses1.jpg

Thursday 30 July 2009

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ตอบรับมาตรการ “เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสถานที่ราชการ” ของกระทรวงแรงงาน ตรวจวัดอุณหภูมิเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อราชการ หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศา กรณีเจ้าหน้าที่ให้กลับบ้านได้ โดยไม่ถือเป็นวันลา กรณีผู้มาติดต่อให้รอเจ้าหน้าที่มาให้บริการ ณ จุดบริการที่กำหนด ย้ำ! ผู้ประกันตน หากมีอาการไข้รีบพบแพทย์ สามารถรับสิทธิการรักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคมได้
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ดำเนินการ มาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสถานที่ราชการ ตรวจวัดอุณหภูมิเจ้าหน้าที่ และผู้ที่มาติดต่อราชการก่อนขึ้นอาคาร หากมีอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส กรณีเจ้าหน้าที่ให้กลับบ้านและไปพบแพทย์ได้โดยไม่ถือเป็นวันลา กรณีผู้ที่มาติดต่อราชการให้นั่งรอเจ้าหน้าที่มารับบริการ ณ จุดบริการที่กำหนด เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ในสถานที่ราชการและขอความร่วมมือสถานประกอบการควรจัดให้มีการตรวจอุณหภูมิ ร่างกาย ลูกจ้างผู้ประกันตนทุกวันก่อนเข้าทำงาน หากมีอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่มีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์ ที่สถานพยาบาล ตามบัตรรับรองสิทธิฯ เพื่อทำการตรวจรักษา หากพบว่า ผู้ประกันตนป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และแพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยให้ยาต้านไวรัส โอลเซลทามิเวียร์ ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยจากกองทุนประกันสังคมได้
หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือ โทร.1506 ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.หรือติดต่อระบบโทรศัพท์ ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.sso.go.th

Tuesday 28 July 2009

หวัด2009

วันนี้ (22 ก.ค.) นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ระบุ ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกกับจำนวนผู้เสียชีวิต และติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่จะแถลงอย่างเป็นทางการในวันนี้ แต่ยอมรับ มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นรวมถึงเชื้อเริ่มกระจายไปทั่วประเทศ โดยกระทรวงจะเน้นถึงความพร้อมการรักษาของโรงพยาบาล ซึ่งทั้งหมดทางสำนักงานระบาดวิทยา จะเป็นผู้เปิดเผยพร้อมกับข้อเสนอแนะในมาตรการป้องกันเพิ่มเติมนับจากนี้ ขณะเดียวกันปฏิเสธยอดจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตของไทย ไม่ได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 4 ของโลก เนื่องจากที่ผ่านมาหลายประเทศหยุดรายงานสถานการณ์ไข้หวัด แต่ไทยยังต้องรายงานอยู่โดยตลอด

ทั้งนี้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009ที่ 44 คน ติดเชื้อ 6,776 คน โดยมีอาการหายเป็นปกติ 6,697 คน ทั้งนี้ มีผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาล 35 คนในจำนวนนี้ พบว่า มีอาการน่าเป็นห่วง 7 คน

อย่างไรก็ตาม นพ. ไพจิตร์ ระบุ เตรียมปรับแผนออก 3 มาตรการเข้มข้น ดูแลผู้ติดเชื้อไวรัส ชนิดA H1N1 ด้วยการให้ยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ใน ทันที เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยภายในห้องฉุกเฉินและขอให้ผู้ป่วย หยุดรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ให้ใส่หน้ากากอนามัยล้างมือ บ่อย ๆ รวมถึง แยกห้องพักต่างหาก

Sunday 12 July 2009

กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศคำแนะนำเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ฉบับที่ 5 สำหรับประชาชนทั่วไป นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ด้วยการออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานโรค หลังมีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แล้ว 2 ราย โดยย้ำให้ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หากมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ให้รีบพบแพทย์ทันที "กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศคำแนะนำประชาชนเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ H1N1 ฉบับที่ 5 หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขขึ้นทะเบียนผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จำนวน 2 ราย" นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข กล่าว
รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อให้สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและประชาชน ทุกคน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของความสำเร็จในการเฝ้าระวังและป้องกันและลดผล กระทบจากการแพร่ระบาดของโรค
โดยในกลุ่มประชาชนทั่วไป ควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สร้างสุขนิสัยในการป้องกันโรค เน้นกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ และใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการไอ ผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศหากมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัว ควรรีบไปพบแพทย์ หากพบผู้ใกล้ชิดมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่มเดินทางกลับมาจากต่างประเทศภายใน 7 วัน ควรแนะนำไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
กลุ่มโรงเรียนและสถานศึกษา เมื่อเปิดภาคเรียนควรสำรวจนักเรียนเป็นประจำทุกวัน สังเกตอาการป่วยของนักเรียน ดูแลนักเรียนที่ป่วยอย่างถูกวิธี สอนและให้คำแนะนำวิธีรักษาสุขภาพและป้องกันโรคแก่นักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมและอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการป้องกันโรคในโรงเรียน ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ
และกลุ่ม อสม.ขอให้เฝ้าระวัง สังเกตประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนที่รับผิดชอบ หากพบผู้ที่มาอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรแนะนำให้ไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ภายใน 7 วัน และรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เผยแพร่ความรู้และให้คำแนะนำ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข

ตามที่พวกเราได้ติดตามข่าวกันมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในสถานการณ์ล่าสุด ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ศูนย์ควบคุม และการป้องกันโรคสหรัฐ และจากรัฐบาลประเทศต่างๆ ยืนยัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกว่า ล่าสุดอยู่ที่ 7,520 ราย (วันที่ 16 พฤษภาคม 2552) พบผู้ป่วยใน 34 ประเทศ อาทิ เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ปานามา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ เอลซัลวาดอร์ ออสเตรีย ฮ่องกง โคลัมเบีย คอสตาริก้า เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ โปรตุเกส กัวเตมาลา โปแลนด์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ฟินแลนด์ นอร์เวย์ เบลเยี่ยม คิวบา และในประเทศไทยเอง ก็มีผู้ติดเชื้อ 2 ราย ตอนนี้ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสครบชุด ปัจจุบันหายเป็นปกติไม่มีเชื้อในร่างกายแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อติดตามเฝ้าสังเกตอาการต่อเนื่อง แม้ว่าจะมียารักษาโรคนี้หาย แต่ก็ควรป้องกันไว้ก่อน โดยเราสามารถป้องกันและปฎิบัติตัวดังต่อไปนี้

ประชาชนทั่วไป :

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ดื่มน้ำสะอาด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำ และสบู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังไอ หรือจาม
  • ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • รักษาบ้านเรือนให้สะอาด เช็ดเครื่องเรือน และของใช้ในบ้าน ในที่ทำงาน โดยเฉพาะโทรศัพท์เป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ด้วยผู้ชุบน้ำสบู่ หรือผงซักฟอกเจือจาง และเช็ดซ้ำด้วยน้ำสะอาด หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล
  • หากไม่มีความจำเป็น ควรชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาด จนกว่าสถานการณ์จะยุติลง
  • ถ้าป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เสมหะ ควรปิดปากจมูกเวลาไอ โดยใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษทิชชู และทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด และสวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น และควรพบแพทย์

คำแนะนำผู้ที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค

ก่อนการเดินทาง :

  • ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 อย่างใกล้ชิด เพื่อทราบถึงพื้นที่ที่พบการระบาด (ข้อมูลสถานการณ์รายวัน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th)
  • ปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันโรค ตามคำแนะนำของประเทศที่ท่านจะเดินทางไปอย่างเคร่งครัด
  • นำหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ สำหรับทำความสะอาดมือ ยาลดไข้ และยาที่รับประทานเป็นประจำติดตัวไปด้วย
  • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลในเมืองที่ท่านจะเดินทางไปไว้ล่วงหน้า เผื่อกรณีจำเป็นต้องใช้บริการ
  • ทำประกันสุขภาพสำหรับใช้ในต่างประเทศก่อนออกเดินทาง
  • ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจะป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม หากท่านต้องการรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ควรรับวัคซีนก่อนเดินทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรคสูงพอระหว่างเดินทาง
  • ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปรับประทานยาต้านไวรัสเพื่อป้องกัน หรือนำติดตัวไปรับประทาน เนื่องจากยานี้เป็นยาควบคุมพิเศษ ใช้ตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ยังอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ บางรายอาจพบอาการทางจิตประสาท เห็นภาพหลอนได้
  • หากท่านมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ปวดเมื่อยตามร่างกาย ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์ในพื้นที่ทันที เพื่อพิจารณาการให้ยาต้านไวรัส ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ต่อไป

ระหว่างการเดินทาง :

  • เผื่อเวลาในการเดินทางระหว่างอยู่ที่สนามบินเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศต่างๆ จะเคร่งครัดในการคัดกรองผู้โดยสารขาเข้า ซึ่งอาจทำให้ล่าช้ากว่ากำหนดได้

ขณะพำนักในต่างประเทศ :

  • ควรติดตามสถานการณ์การระบาดของพื้นที่ หรือประเทศจุดหมายปลายทางการเดินทางอย่างใกล้ชิด
  • ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทางการสาธารณสุข ในประเทศที่ท่านเดินทางไปอย่างเคร่งครัด
  • หากท่านไอ หรือจาม ให้ปิดปาก และจมูกด้วยกระดาษทิชชู และทิ้งลงในถังขยะ หากไม่มีกระดาษทิชชู อาจใช้แขนเสื้อ (ไม่ควรใช้มือ) ปิดปาก และจมูก เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำ และสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอจามทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา แคะจมูก หรือนำนิ้วเข้าปาก เพื่อลดโอกาสการนำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
  • พยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ หรือผู้ที่มีอาการไอ
  • ถ้าท่านมีอาการไข้ร่วมกับอาการอื่นๆ ของไข้หวัดใหญ่ เช่น ไอ เจ็บคอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ หรือผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน ในระยะ 7 วันที่ผ่านมา ควรรีบไปพบแพทย์

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดของโรค

  • หากท่านมีอาการไข้ ขอให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบิน หรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เพื่อที่จะได้เตรียมการดูแลท่าน และเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารคนอื่นในสนามบิน และบนเครื่องบิน
  • ประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง หากพบว่าท่านมีไข้ จะมีแพทย์ตรวจ และดูแลท่าน ณ จุดคัดกรอง ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
  • สำหรับผู้ที่ไม่มีไข้ และไม่มีอาการป่วย ควรหยุดงาน หรือหยุดเรียน พักอยู่ที่บ้าน หรือที่พัก และสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน หลังกลับจากต่างประเทศ
  • หากท่านมีไข้ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ เจ็บคอ ร่วมกับ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น รีบสวมหน้ากากอนามัย หรือปิดปาก และจมูก ด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอ และหมั่นล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และไปพบแพทย์พร้อมบัตรเตือนเรื่องสุขภาพ ที่ได้รับจากด่านควบคุมโรคที่สนามบิน เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดต่อไป
  • หากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ควรหยุดงาน หรือหยุดเรียน พักอยู่ที่บ้าน หรือที่พัก และสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน หลังกลับจากต่างประเทศ
  • ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยกระดาษทิชชู ทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากไอจาม และล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
หากมีข้อสงสัย ให้ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์ หมายเลข 02-590-3333 และที่ 02-5901994 ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออ่านรายละเอียดของโรคนี้ได้ที่ Website กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th

copy มาจาก internal alert บริษัท AIS ครับผม

www.ais.co.th

ปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1 เอ็น1) กำลังขยายตัวไปทั่วโลก และขณะนี้ประเทศไทยพบการระบาดภายในประเทศแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษา และสถานประกอบการ ซึ่งอาจแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีอาการคล้ายกันกับไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ธรรมดา ส่วนใหญ่มีอาการน้อยและหายได้โดยไม่ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล

สำหรับ ผู้ป่วยจำนวนไม่มากในต่างประเทศที่เสียชีวิต มักเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน เป็นต้น ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ โรคอ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และหญิงมีครรภ์

สำหรับ วิธีการติดต่อและวิธีการป้องกันโรค จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ธรรมดา กระทรวงสาธารณสุข จึงขอให้คำแนะนำในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1 เอ็น1) ดังต่อไปนี้

คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป

1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ

2. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น

3. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด

4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น

6. ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่

1. หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ

2. ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

3. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น หรือใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม

4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม

5. หากมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ควรรีบไปพบแพทย์

คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา

1. แนะนำให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้านหรือหอพัก หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์

2. ตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนในแต่ละวัน หากพบขาดเรียนผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในห้องเรียนเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค

3. แนะนำให้นักเรียนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน

4. หากสถานศึกษาสามารถให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ทุกคนหยุด เรียนได้ ก็จะป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดี และไม่จำเป็นต้องปิดสถานศึกษา แต่หากจะพิจารณาปิดสถานศึกษา ควรหารือร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะเรียน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง

คำแนะนำสำหรับสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน

1. แนะนำให้พนักงานที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์

2. ตรวจสอบจำนวนพนักงานที่ขาดงานในแต่ละวัน หากพบขาดงานผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในแผนกเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค

3. แนะนำให้พนักงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน

4. ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่แนะนำให้ปิดสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่

5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะทำงาน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกทั่วไปเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง

6. ควรจัดทำแผนการประคองกิจการในสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง หากเกิดการระบาดใหญ่ (ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid.ddc.moph.go.th)

แหล่งข้อมูลการติดต่อ เพื่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0-2245-8106 , 0-2246-0358 และ 0-2354-1836

2. ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และ หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-1994 ตลอด 24 ชั่วโมง

สัญญานไข้หวัด 2009 และอาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด 2009 สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1 ที่ระบาดในประเทศเม็กซิโก อาการ ไข้หวัด 2009

ไข้หวัด 2009

อาการไข้หวัด 2009 ในคนนั้นมีอาการ คล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัด 2009อาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง

ผู้ ที่ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ ไข้หวัด 2009 ระยะเวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน

สัญญานเตือนภัย ไข้หวัด 2009 ที่จะบ่งบอกถึงการต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตมีดังนี้ ในเด็ก หากเด็กมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน ดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอ ปลุกไม่ตื่น หรือไม่มีอาการตอบสนอง มีอาการงอแงไม่ยอมให้อุ้ม มีไข้เฉียบพลัน หรือมีอาหารหวัด ไออย่างรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที ในผู้ใหญ่ สัญญานเตือนภัยที่จะต้องรีบรักษาเช่นกันคือ อาการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่ เจ็บ แน่นหน้าอกหรือช่องท้อง วิงเวียน หน้ามืด และอาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาเจียนเป็นเลือด หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน

โอกาสในการรับเชื้อ ไข้หวัด 2009


การ กระจายและการติดเชื้อของเชื้อไข้หวัด 2009มี 2 ทาง คือ ทางแรก เกิดจาการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ หรือการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อไข้หวัด 2009ทางที่สอง การเกิดจากสัมผัสระหว่างคนกับคนที่ติดเชื้อ การกระจายและติดเชื้อระหว่างคนสู่คนนั้นได้มีการมีบันทึกไว้ และ ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูที่มีไข้หวัดระบาด (Seasonal flu) สาเหตุให้ที่จะทำให้เชื้อแพร่กระจายจากคนสู่คนถือการไอ หรือจาม ของผู้ติดเชื้อ

ไข้หวัด 2009 จะรักษาอย่างไร?

ยา ที่จะใช้รักษาอาการไข้หวัด 2009นั้น CDC แนะนำให้ใช้ตัวยา oseltamivir หรือ zanamivir (ทางที่ดีอย่าซื้อกินเอง ควรไปพบแพทย์ค่ะ...ผู้เขียน) สำหรับการบำบัดรักษา การป้องกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสนี้ ยาต้านไวรัส (Antivirus drug) ตามคำสั่งยาของแพทย์ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาน้ำ หรือ ยาชนิดสูดดม ที่มีฤทธิ์ต้านหวัดช่วยได้โดยการป้องกันการเจริญและพิ่มจำนวนในร่างกาย (ยังคงมีไวสหลงเหลือในร่างกาย) ถ้าหากมีอาการป่วย ยาต้านไวรัสเหล่านี้สามารถทำให้อาการป่วยลดลงและสามารถทำให้รู้สึกดีขึ้น เร็วขึ้น และอาจใช้ป้องกันอาการหวัดที่รุนแรงได้ สำหรับการรักษานั้นยาต้านไวรัสทำงานได้ดีที่สุดถ้าใช้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ป่วย โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 2 วันแรกที่มีอาการเหมือนเชื้อหวัด..ไม่มีวัคซีนในการรักษา อย่างไรก็ตามหากการกระทำใดๆในชีวิตประจำวันที่ผู้คนสามารถใช้ช่วยป้องกันการ แพร่กระจายของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจได้ก็ สามารถนำมาใช้ป้องกันเชื้อไข้หวัด 2009 นี้ได้

ไข้หวัด 2009

ข้อแนะนำตามขั้นตอนพึงปฏิบัติเป็นประจำทุกวันเพื่อปกป้องไข้หวัด 2009 และสุขภาพของตัวคุณเอง ดังต่อไปนี้

1. ใช้กระดาษทิชชูปิดจมูกและปากของคุณเมื่อไอ หรือจาม และทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่มีฝาปิดหลังการใช้ทันที

2. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือล้างด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ (เช่นเจลล้างมือ) บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการไอ หรือ จาม

3. พยายามหลีกเลี่ยงการพบปะ และสัมผัสกับผู้ป่วย ถ้าหากป่วยเป็นหวัดควรหยุดพักอยู่บ้าน เพื่อจำกัดการพบปะผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก หรือ ปาก เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางอวัยวะเหล่านี้ได้

ประชาชน ยังไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลกับการจัดเตรียมและรับประทานเนื้อหมู เชื้อไวรัสไข้หวัด 2009 นี้ไม่สามารถแพร่กระจายได้ทางอาหาร อนึ่งการรับประทานเนื้อหมูที่ผ่านการเตรียมที่ดีและผ่านการปรุงสุกจะช่วยให้ มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคไข้หวัด 2009 นี้

ข้อมูล : oknation.net

เรียบเรียง : men.mthai.com

หวัด2009

หวัด2009

สถานการณ์ของไข้หวัดใหญ่ 2009ในขณะนี้ยังคงลุมลามไปทั่วโลก หลายประเทศเริ่มควบคุมไม่ได้ จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตอาจไม่มากและเชื้อไม่ร้ายแรงเท่า โรคซารส์ หรือ ไข้หวัดนก แต่ ไข้หวัด2009 ก็มีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ง่ายกว่า

ไข้หวัด2009 มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า A/H1N1 เป็นเชื้อไข้หวัดหมูพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม โดยเชื้อไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู และไข้หวัดใหญ่ อาจเข้าไปอยู่ในตัวหมูที่เป็นพาหะนำโรค ต่อมาเซลล์ในตัวหมูถูกเชื้อไวรัส2ชนิดโจมตี ทำให้หน่วยพันธุกรรมปนเปกันระหว่างการแบ่งตัว จนเกิดเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา

ทั้งนี้ ตามปกติจะติดจากคนที่สัมผัสหมูโดยตรงเท่านั้น แต่ไม่ติดต่อผ่านการบริโภคผลิตภัณฑ์จากหมู่ ทว่า เชื้อไวรัสตัวนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ผ่านการไอ จาม รวมถึงการสัมผัสจากสิ่งของที่ใช้ร่วมกันคล้ายกับการแพร่เชื้อของไข้หวัด ธรรมดา

อนึ่ง ไวรัสไขหวัดหมูสายพันธุ์ใหม่ในปัจจุบันมีลักษณะทางพันธุกรรมและยีนแตกต่างจากไวรัสไข้หวัดหมูใน อดีต เพราะมีองค์ประกอบของเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน 1.เชื้อไข้หวัดนกในทวีปอเมริกาเหนือ 2.เชื้อไข้หวัดใหญ่ในคน 3.เชื้อไข้หวัดหมูในยุโรปและเอเชีย

หวัด2009

หวัด2009

การแพร่ติดต่อ

เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปากผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

หวัด2009

หวัด2009

อาการป่วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน อาการป่วยใกล้เคียงกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียด้วยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษา

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี

หวัด2009

หวัด2009

ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดย
- รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
- ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
- พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม
- นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
- ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

หวัด2009

หวัด2009

หวัด2009

หวัด2009

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ

- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- หากต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที
- ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังไอ จาม
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา

wadd2009lank

การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ

- หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรลาหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3 – 7 วัน ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก
- พยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคลุกคลีกับคนอื่น ๆ
- สวมหน้ากากอนามัย
หน้ากากอนามัยทั่วไปใช้ในผู้ป่วย ที่มีอาการไอหรือจาม เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อได้ ส่วนบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง ควรใช้หน้ากากอนามัยชนิดพิเศษ ตามข้อแนะนำทางการแพทย์

หวัด2009

เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชูปิดจมูกปากทุกครั้งที่ไอจาม ทิ้งทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ใส่ใจ ห่วงใยคนรอบข้างสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ

wadd2009deknoi

ยาชนิดที่สามารถรักษาโรคไข้หวัด 2009ได้

ยาต้านไวรัส ซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 นี้ได้ผล คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine

ยาต้านไวรัส oseltamivir จะให้ผลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ดีที่สุด ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเร็วภายใน 2 วันนับตั้งแต่เริ่มมีไข้
วัคซีนป้องกันไข้หวัด 2009

ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ แต่องค์การอนามัยโลก ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทผู้ผลิต เร่งการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนในการผลิต ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาลที่ผลิตใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานว่า จะสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้

เรียบเรียงโดยเอ็มไทยด็อทคอม

ภาพประกอบจากไทยรัฐ

ช้อมูลจาก

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข

ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา ประเทศเม็กซิโกเริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวมสูงขึ้นผิดปกติ จากนั้น จึงเริ่มมีการส่งตัวอย่างจากผู้ป่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2552 ตามเวลาประเทศไทย) พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จำนวน 10,243 ราย ใน 41 ประเทศ และพบผู้เสียชีวิตแล้ว 80 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.78 รายชื่อประเทศที่พบผู้ป่วยมีดังนี้ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา ชิลี จีน โคลัมเบีย คอสตาริก้า คิวบา เดนมาร์ก เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน กัวเตมาลา อินเดีย ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ปานามา เปรู โปแลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ ไทย ตุรกี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และกรีก ท่านสามารถติดตามรายละเอียดรายงานสถานการณ์โรครายวัน ได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th

ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 Influenza A (H1N1)

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศ

เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก

การแพร่ติดต่อ
เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก
ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน อาการป่วยใกล้เคียงกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดย
- รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
- ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
- พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม
- นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
- ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- หากต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที
- ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังไอ จาม
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา

การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
- หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรลาหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3 - 7 วัน ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก
- พยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคลุกคลีกับคนอื่น ๆ
- สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชูปิดจมูกปากทุกครั้งที่ไอจาม ทิ้งทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
ใส่ใจ ห่วงใยคนรอบข้าง
สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค
http://beid.ddc.moph.go.th
4 พฤษภาคม 2552

ทีนี้ทราบกันแล้วนะครับว่า โรคไข้หวัด 2009 คืออะไร? , มีการแพร่เชื้ออย่างไร , มีการป้องกันอย่างไร , การรักษาได้หรือไม่? และอีกอย่างนะครับ รักษาร่างกายให้แข็งแรงจะช่วยได้มากครับผม

อาการ ของ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม 2009 ่มีอะไรบ้าง
อาการใกล้เคียงกับ อาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยหลายรายในเม็กซิโกมีอาการปอดอักเสบรุนแรง (หอบ หายใจลำบาก) และเสียชีวิต

หากท่านมีอาการป่วย สามารถรับการรักษาที่ใดบ้าง
ผู้ป่วยที่สงสัยว่า อาจติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม 2009 ่นี้ สามารถเข้ารับการตรวจรักษา หรือรับคำปรึกษาได้ท ี่สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีความพร้อมที่จะดูแลรักษาท่าน และส่งต่อผู้ป่วยตามระบบหากจำเป็น แต่หากท่านมีอาการป่วยเล็กน้อย และไม่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ อาจขอรับคำแนะนำและรับยาจากเภสัชกร และรักษาตัวที่บ้าน

หน้ากากอนามัย ใช้ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ที่ระบาดได้หรือไม่
หน้ากากอนามัยทั่วไปใช้ในผู้ป่วย ที่มีอาการไอหรือจาม เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อได้ ส่วนบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง ควรใช้หน้ากากอนามัยชนิดพิเศษ ตามข้อแนะนำทางการแพทย์

มีวัคซีนที่สามารถป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้หรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ แต่องค์การอนามัยโลก ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทผู้ผลิต เร่งการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนในการผลิต ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาลที่ผลิตใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานว่า จะสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้

ยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่
ประเทศไทยได้สำรองยานี้ ไว้พอเพียงสำหรับการรักษาผู้ป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้สำรองยาที่นี้ไว้พอเพียง เพื่อการควบคุมการระบาดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ณ จุดเกิดเหตุ โดยสำรองยาพร้อมใช้ทั่วประเทศจำนวน 3,250,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 325,000 ราย) และองค์การเภสัชกรรมกำลังนำวัตถุดิบที่สำรองมาผลิตยานี้ (GPO-A-Flu®) ได้สำหรับ 1,000,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) ภายใน 4 วัน นอกจากนี้ ยังพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดหากเกิดการระบาดใหญ่ ได้อีก 1,000,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) ด้วย

มียาชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาโรคไข้หวัด 2009 ได้
ยาต้านไวรัส ซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 นี้ได้ผล คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine

ยาต้านไวรัส oseltamivir จะให้ผลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ดีที่สุด ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเร็วภายใน 2 วันนับตั้งแต่เริ่มมีไข้

กระทรวงสาธารณสุข มีมาตรการดำเนินการป้องกัน ควบคุมโรคไข้หวัด 2009 นี้ อย่างไรบ้าง
มาตรการสำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้น การเฝ้าระวังโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ ่และปอดอักเสบรุนแรง การตรวจคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ โดยติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิผู้เดินทาง (Infrared Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติ การตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย สำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น รวมถึงการสื่อสารความเสี่ยง การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ และให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนผ่านศูนย์ฮ็อตไลน์ จัดทำข่าวแจก จัดการแถลงข่าว และจัดทำคำแนะนำประชาชนเผยแพร่ทางเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนรวมทั้งนานาชาติ เป็นต้น

. ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาด ตามข่าวอยู่ในขณะนี้ คือโรคอะไร
โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกด้วย เริ่มพบการระบาดที่ประเทศเม็กซิโก และแพร่ไปกับผู้เดินทางไปในอีกหลายประเทศ ระยะแรก กระทรวงสาธารณสุขใช้ชื่อโรคนี้ว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” และเมื่อองค์การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” และใช้ชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”

เหตุใดจึงไม่ใช้คำว่าไข้หวัดสุกร (Swine flu) เหมือนชื่อที่ใช้เรียกในระยะแรกของการระบาด


เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ใหม่ ในการรายงานโรคนี้ช่วงแรกในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1 และ H3N2 แต่ละชนิดมีหลากหลายสายพันธุ์ ตามปกติการเกิดโรคในสุกร บางครั้งอาจมีผู้ติดเชื้อจากสุกรและป่วยซึ่งเกิดไม่บ่อยนัก การติดเชื้อเกิดโดยคนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร หรือสิ่งแวดล้อมที่สุกรอาศัยอยู่ อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรมพบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคน และยังไม่เคยพบในสุกรมาก่อน และการระบาดดังกล่าว ไม่มีรายงานโรคนี้ระบาดในสุกรทั้งในเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนเท่านั้น

ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2552 องค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากที่เคย เรียกว่า ไข้หวัดสุกร หรือ สไวน์ ฟลู (Swine Flu) เป็น “ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1) ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขไทยจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” และชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เพื่อให้สอดคล้องกันและสื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจตรงกัน ไม่สับสนกับไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่เกิดตามฤดูกาล ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่คนละตัวกัน

เชื้อไข้หวัด 2009 มรณะลาม 36 รัฐมะกัน

May 6, 2009 ในหมวด ทั่วไป

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 6 พฤษภาคม 2552 00:22 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน/รอยเตอร์/เอเอฟพี - สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม ่ทั่วโลก ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อแล้ว เกือบ1,300 ราย ขณะที่ในสหรัฐฯพบผู้ติดเชื้อแล้ว ใน 36 มลรัฐ ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญเห็นกันว่าเชื้อไวรัสนนี้ ไม่ได้มีฤทธิ์รุนแรงอะไรนัก ส่วนคนไทยที่เดินทางกลับจากเม็กซิโก 14 คน กลับบ้านได้แล้ว ชี้ผลแล็บยันหวัดธรรมดา แต่พบผู้เฝ้าระวังเพิ่ม 3 คน

องค์การอนามัยโลกระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 ทั่วโลก ที่สามารถยืนยันได้ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 1,296 คนแล้วโดยพบกระจายอยู่ใน21 ประเทศทั่วโลกคือเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สหราชอาณาจักร เยอรมัน นิวซีแลนด์ อิสราเอล ฝรั่งเศส เอลซัลวาดอร์ อิตาลี ออสเตรีย ฮ่องกง คอสตาริกาโคลอมเบีย เดนมาร์กไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์และโปรตุเกส

โดยประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกในขณะนี้ คือ เม็กซิโกซึ่งมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้ว727 ราย ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาที่มี 286 รายและแคนาดา 103 ราย

ไวรัสมรณะลาม 36 มลรัฐของสหรัฐฯ

ริชาร์ด เบสเซอร์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯยืนยันว่าพบผู้ติด เชื้อไวรัสดังกล่าวในสหรัฐฯแล้ว 286 รายใน36 มลรัฐ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เบสเซอร์ ระบุว่าผู้ติดเชื้อจำนวนมากเป็นเด็กและมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่16 ปี ขณะเดียวกันก็ตรวจพบผู้ติดเชื้อที่มีอายุน้อยที่สุด คือทารกวัยเพียง3 เดือนเท่านั้น

เบสเซอร์ ยังเปิดเผยว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ ที่แท้จริงในสหรัฐฯอาจจะอีกมากกว่า700 รายใน 44 มลรัฐ เนื่องจากเชื่อว่ามีผู้ติดเชื้อจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้เดินทางไปพบแพทย์เพื่อ ตรวจร่างกายจึงยังไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม เจเนท นาโปลิตาโน รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ ยืนยันว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังระบาดจนสร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลกในขณะนี้ ไม่ได้มีอันตรายหรือน่ากลัวมากกว่าไข้หวัดใหญ่ธรรมดาที่มักเป็นกันในช่วงฤดู หนาว ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันสูงถึง 35,000 คนต่อปีแต่อย่างใด

โดยนาโปลิตาโนระบุว่า ชาวอเมริกันไม่ควรตื่นตระหนกกับรายงานข่าวที่พบผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ แม้จะมีข่าวว่าอาจมีผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ทั่วประเทศมากถึง 44 มลรัฐในระยะเวลาอันใกล้นี้ก็ตาม

เม็กซิโกอ้างเป็นผู้นำช่วยชีวิตชาวโลก

ประธานาธิบดี เฟลิเป กัลเดรอน อิโนโฮซา ของเม็กซิโก ออกมาแถลงเมื่อวานนี้ (5)โดยระบุว่า เป็นเพราะรัฐบาลเม็กซิโกที่แสดงบทบาทเป็นผู้นำประชาคมโลกในการวางมาตรการรับ มือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จึงสามารถช่วยชีวิตชาวโลกไปได้หลายพันคน

คำแถลงของกัลเดรอน ระบุด้วยว่าสถานการณ์ในเม็กซิโกจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ตั้งแต่วันพุธ (6) เป็นต้นไปโดยบรรดาบริษัท ห้างร้าน โรงเรียนและสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ถูกปิดอย่างน้อย 1 สัปดาห์จะกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้ง เนื่องจากทางการเม็กซิโกสามารถยับยั้งการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ได้สำเร็จแล้ว และเรียกร้องให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ

นอกจากนั้น กัลเดรอน ยังระบุว่าเม็กซิโกจะลดภาษีชั่วคราวให้กับเรือสำราญ ที่เดินทางเข้ามายังเม็กซิโกโดยมาตรการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้น เศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเม็กซิโกที่กำลังได้รับผลกระทบ อย่างหนักจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ โดยกัลเดรอนเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจของประเทศจะเริ่มฟื้นตัวได้อีกครั้ง พร้อมกับกำชับให้คณะรัฐมนตรีเร่งออกมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้

อย่างไรก็ตาม มิเกล อังเฆล เลซานา หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังโรคระบาดแห่งชาติของเม็กซิโก ออกโรงเตือนทางการไม่ให้ประมาท เนื่องจากยังมีความเป็นไปได้ที่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะกลับมาระบาด อีกครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวที่จะถึงนี้ เช่นเดียวกับเชื้อไข้หวัดสเปนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่หายไปและกลับมาระบาดอีกครั้ง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกหลายสิบล้านคนมาแล้ว

ขณะที่โฮเซ อังเฆล กอร์โดบา รัฐมนตรีสาธารณสุขเม็กซิโก เปิดเผยว่า ถึงแม้ในวันพุธนี้รัฐบาลจะยกเลิกการห้ามดำเนินกิจกรรมต่างๆของภาครัฐและ เอกชน ที่บังคับใช้มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 1พ.ค.ที่ผ่านมาแต่โรงเรียนทุกแห่งจะยังคงปิดต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่11 พ.ค.นี้

เกาหลีใต้พบผู้ป่วยรายแรกติดเชื้อคนสู่คน

ทางการเกาหลีใต้แจ้งวานนี้ว่าตรวจพบหญิงวัย 44 ปีรายหนึ่งติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยถือเป็นผู้ติดเชื้อรายแรกของทวีปเอเชีย ที่ได้รับเชื้อจากการติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง

รายงานข่าวระบุว่าสตรีรายนี้ ซึ่งไม่เคยเดินทางไปยังเม็กซิโก แต่ได้รับเชื้อมาจากแม่ชีวัย 51 ปีคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อรายแรกของเกาหลีใต้ หลังจากที่เธอได้พบกับแม่ชีคนนี้ที่สนามบิน

เม็กซิโกรับพลเมืองในจีนกลับ

กระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ออกคำแถลงระบุว่าได้ส่งเครื่องบินไปลงจอดในหลายเมืองของจีนแล้วเพื่อรับตัว ชาวเม็กซิกันที่ต้องการจะเดินทางกลับประเทศ หลังจากก่อนหน้านี้ทางการจีนได้กักตัวชาวเม็กซิกัน 68 คน ซึ่งมีลูกเรือของสายการบิน อาเอโร เม็กซิโก รวมอยู่ด้วย 13 คน หลังจากคนเหล่านี้โดยสารเครื่องบินลำเดียวกันเดินทางจากกรุงเม็กซิโก ซิตี มายังนครเซี่ยงไฮ้ ของจีนโดยไม่รู้ว่าบนเครื่องมีผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยสารมาด้วย 1 คน

ด้านนักการทูตเม็กซิโกแสดงความไม่พอใจที่จีนกักตัวพลเมืองเม็กซิกันเอา ไว้ ทั้งที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็นว่าอาจติดเชื้อไวรัสดังกล่าว โดยมีการกล่าวหาทางการจีนว่าเลือกปฏิบัติและไม่มีความเป็นธรรมต่อชาวเม็กซิ กัน

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเทศได้ตกลงกันที่จะส่งเครื่องบินไปรับพลเมืองของตนกลับโดยขณะที่ เม็กซิโกส่งเครื่องบินไปรับคนเม็กซิกันออกจากจีน ทางการจีนก็ส่งเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับชาวจีนราว 200 คน ออกจากเม็กซิโกเช่นกัน โดยคาดว่าเครื่องบินลำดังกล่าว น่าจะกลับสู่ประเทศจีนในวันพุธ

แคนาดากริ้วจีนที่กักตัวนศ.22 คน

ลอว์เรนซ์ แคนนอน รัฐมนตรีต่างประเทศของแคนาดา ออกมาแถลงเมื่อวันจันทร์ (4) โดยเรียกร้องให้ทางการจีนชี้แจงกรณีสั่งกักตัวนักศึกษาชาวแคนาดาจำนวน 22 คนไว้ โดยจีนอ้างว่านักศึกษาเหล่านี้ อาจจะเป็นตัวการแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่บนแผ่นดินจีน หลังจากแคนาดาพบผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้ว 103 ราย ซึ่งมากเป็นอันดับสามรองจากเม็กซิโกและสหรัฐฯ

โดยรายงานข่าวในแคนาดาระบุว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของจีนรีบเข้ามาควบคุมตัวและตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของ นักศึกษาเหล่านี้ทันที ที่นักศึกษาแคนาดากลุ่มนี้ลงจากเครื่องบินในเมืองฉางชุน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และยังสั่งกักตัวนักศึกษาเหล่านี้ไว้ในโรงแรมแห่งหนึ่งเป็นเวลา 7 วัน ทั้งที่นักศึกษากลุ่มนี้ไม่ได้มีอาการป่วยก็ตาม

อนุญาต14คนไทยกลับบ้านได้

นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข(สธ.) พร้อมด้วย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และ สาธารณสุข ร่วมกับทีมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญโรคไข้หวัดใหญ่ ที่สธ.ว่า หลังจากผู้ที่เดินทางมาจากเม็กซิโก 14 ราย เข้ามาอยู่ในความดูแลของสถาบันบำราศนราดูรเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากให้ความมั่นใจในมาตรการของกระทรวง ผลการตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการตรงกันว่าทั้ง 14 คนไม่มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 ถึงแม้ว่าในจำนวนนี้ 1 ราย จะมีอาการเป็นไข้หวัด แต่ก็ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ขณะนี้

ดังนั้นแพทย์เจ้าของไข้ของทั้ง14รายจึงอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ ซึ่งทั้งหมดได้ทยอยเดินทางกลับบ้านไปตั้งแต่เวลา 10.00 น.วานนี้ (5 พ.ค.) อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้แพทย์แนะนำให้ดูแลตัวเองอีก 7 วัน เช็กอุณหภูมิร่างกาย ไม่คลุกคลีกับญาติอย่างใกล้ชิด เช่น การกอดหรือหอมแก้ม หลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนหนาแน่น และแจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ทุกวันหากมีอาการผิด ปกติหรือมีไข้

นายวิทยา กล่าวถึงมาตรการรับมือเชื้อไวรัสสายพันธ์ใหม่สว่า สธ.ได้กระจายยาโอเชลทามีเวียร์ (Oseltamivir)ให้โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศแล้ว จะส่งไปให้โรงพยาบาลเอกชนโดยจะแจ้งสถานทูตทุกแห่งในประเทศไทย จะให้ยาไว้เป็นสต็อกในสถานทูตที่มีแพทย์ประจำ และจะส่งยาไปให้สถานทูตไทยทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยง และมีการแพร่ระบาดของโรค

พบผู้ป่วยเฝ้าระวังเพิ่ม 3 คน

นพ.ไพรจิตร กล่าวว่าในประเทศไทยพบผู้เข้าข่ายเฝ้าระวังการติดเชื้อ 17 รายโดยมีการตรวจยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการและติดตามอาการแล้วว่าไม่มีเชื้อ ดังกล่าว 14 ราย ยังเหลือผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 3 รายโดยเป็นชายไทยอายุ 34 ปี อยู่ที่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ทำงานรับจ้างอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเวลา 3 ปี และเดินทางกลับประเทศไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 1 พ.ค.มีอาการไอ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสรรพประสิทธิประสงค์ อีก 1 ราย เป็นชายไทยอายุ 60 ปี อยู่ที่จ.นครสวรรค์ โดยผู้ป่วยเดินทางผ่านไปยังประเทศที่มีการระบาด และเดินทางกลับมาประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 พ.ค. เริ่มมีอาการป่วยเป็นไข้หวัดเมื่อวันที่ 3 พ.ค.เข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และรายที่ 3 เป็นหญิงชาวเยอรมัน อายุ 52 ปี เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยพร้อมสามี มีจุดหมายปลายทางที่จ.ภูเก็ต พบว่ามีอาการไอ หอบ มีไข้สูง เมื่อผ่านเครื่องเทอร์โมสแกนแพทย์ได้แยกตัวออกมาและนำส่งโรงพยาบาลราชวิถี

มข.ตั้งศูนย์วิจัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่

รศ.ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น เปิดเผยว่า มข.ได้เปิดบริการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไข้หวัดเม็กซิโกสายพันธุ์ใหม่ฟรี ทางห้องปฏิบัติการขึ้น ทั้งในคนและสุกร สำหรับสุกร กรณีที่เป็นซากสุกรสามารถนำปอดสุกร มาส่งตรวจ ส่วนสุกรยังมีชีวิต เจ้าของสุกรควรนำสำลีพันปลายไม้ แหย่เข้าจมูกสุกร ส่งตัวอย่างนำส่งตรวจที่ศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัย โดยจะสามารถรู้ผลการตรวจได้ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงหลังได้รับตัวอย่างที่ตรวจ โดยศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยจะเริ่มให้บริการได้ตั้งแต่เดือนพ.ค. เป็นต้นไป

ทั้งนี้สามารถสอบถามและส่งตรวจตัวอย่างจากคนไข้ได้ที่ รศ.ดร.วีระพงษ์ ลุลิตานนท์ คณะแพทยศาสตร์ โทร 043-363808 สำหรับตัวอย่างตรวจจากสุกร สามารถติดต่อได้ที่ รศ.สพ.ญ.กัลยา เจือจันทร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร 081-5440299

แก้ไขล่าสุด คลิกเพื่ออ่านข่าว : ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ระดับ 6
องค์การอนามัยโลกหรือ ดับเบิลยูเอชโอ ปรับเพิ่มยอดผู้เสียชีวิต และ ผู้ติดเชื้อจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 วันนี้ โดยยืนยันพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดสายพันมรณะนี้ 615 รายทั่วโลก จากเดิม 365 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 17 ราย
ขณะนี้ มี 15 ประเทศทั่วโลกที่ผลการตรวจในห้องแล็บยืนยันว่าพบกรณีการติดเชื้อ โดยผู้ติดเชื้อมากที่สุดอยู่ในเม็กซิโกรวม 397 ราย เสียชีวิต 16 ราย สหรัฐพบผู้ติดเชื้อ 141 ราย เสียชีวิต 1 ราย แคนาดาพบการติดเชื้อ 34 ราย ขณะที่สเปน อังกฤษพบผู้ติดเชื้อประเทศละ 13 ราย
ส่วนนิวซีแลนด์และเยอรมนีพบผู้ติดเชื้อประเทศละ 4 ราย อิสราเอล 2 ราย ออสเตรีย เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์พบประเทศละ 1 ราย เช่นเดียวกับฮ่องกง

ที่มา - nationchannel.com


มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
สวนดุสิตโพล -- พุธที่ 8 กรกฎาคม 2009 07:28:44 น.
จากการแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 ในประเทศไทยที่มีทั้งผู้ที่ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตตลอดมา ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของคนไทยและสร้าง
ความวิตกกังวล เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 3,479 คน (กรุงเทพฯ 1,264 คน 36.33 % ต่างจังหวัด 2,215 คน 63.67%) ระหว่างวัน
ที่ 1-4 กรกฎาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้

1. ไข้หวัด 2009 ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนมากน้อยเพียงใด
อันดับที่ 1 เปลี่ยนแปลง 76.29%
เพราะ ต้องระมัดระวังตัวเองกลัวจะติดไข้หวัด2009,ดูแลลูกหลานญาติพี่น้องเพิ่มมากขึ้น,
เชื้อไข้หวัด2009 แพร่กระจายรวดเร็วและมีผู้เสียชีวิต ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เปลี่ยนแปลง 23.71%
เพราะ เป็นโรคที่รักษาให้หายได้, ระมัดระวังตัวเองอยู่ตลอดเวลา, สุขภาพแข็งแรง ฯลฯ

2. 10 พฤติกรรมที่ประชาชนเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
อันดับที่ 1 ระวังตัวไม่อยู่ใกล้กับคนที่เป็นไข้หวัด ไอ จาม 30.24%
อันดับที่ 2 ดูแลลูกหลานและญาติผู้ใหญ่ในเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้น 25.67%
อันดับที่ 3 ล้างมือ / ล้างมือโดยใช้สบู่มากขึ้น 14.83%
อันดับที่ 4 รับประทานอาหารนอกบ้านระมัดระวังขึ้น/อาหารสุกๆ ใหม่ๆ ร้อนๆ/ใช้ช้อนกลาง 8.91%
อันดับที่ 5 ระวังตัวเองและลูกหลานไม่ได้เป็นไข้หวัด (เช่น ไม่ตากแดด, ไม่ตากฝน ฯลฯ) 6.75%
อันดับที่ 6 ดูแลสุขภาพให้เข้มแข็ง ออกกำลังเพิ่มขึ้น 4.94%
อันดับที่ 7 ไม่ไปที่ชุมขนคนอยู่มากๆ 3.13%
อันดับที่ 8 หลักเลี่ยงการไปโรงพยาบาลกลัวจะติดเชื้อ 2.50%
อันดับที่ 9 ดู อ่าน และสนใจข่าวเกี่ยวกับไข้หวัดมากขึ้น 1.84%
อันดับที่ 10 พักผ่อน นอน แทนการออกนอกบ้านมากขึ้น (โดยเฉพาะวันหยุด) 1.19%

3. 5 พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง ในช่วงวันหยุดยาว จากกรณี “ไข้หวัด 2009” ระบาด
อันดับที่ 1 อยู่บ้านมากขึ้น / ไม่อยากออกนอกบ้าน / ไม่อยากไปต่างจังหวัด กลัวติดไข้หวัด 35.67%
อันดับที่ 2 หลีกเลี่ยงโดยไม่ไปแหล่งแพร่เชื้อหรือติดเชื้อง่าย เช่น ตลาด ชุมชนที่แออัดคนมาก โรงภาพยนตร์ ฯลฯ 30.21%
อันดับที่ 3 พักผ่อน /นอนอยู่ที่บ้านแทนการเที่ยวเตร่เพื่อไม่ให้ติดเชื้อและทำให้ร่างกายแข็งแรง 14.83%
อันดับที่ 4 ทำอาหารสุกๆ ร้อน ๆ กินกับที่บ้านแทนการซื้อกับข้าว และกินอาหารนอกบ้าน /
เลือกกินอาหารปรุงเสร็จใหม่ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด ฯลฯ 11.38%
อันดับที่ 5 ระมัดระวังในการไปเที่ยวเตร่ / ออกนอกบ้านโดยหลีกเลี่ยง แหล่งเสี่ยง และบุคคลที่เสี่ยงต่อไข้หวัด 2009 7.91%

4. ความเชื่อมั่นต่อการป้องกัน รักษา และดูแล การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009
อันดับที่ 1 มั่นใจ 77.98%
เพราะ มีการเอาจริงเอาจังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข และสื่อมวลชน
ที่นำเสนอเตือนภัยตลอดเวลา ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่มั่นใจ 22.02%
เพราะ แพร่ระบาดง่าย และรวดเร็วมีคนป่วยทุกวัน และมีคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ

--สวนดุสิตโพล--

Archives